คูลลิ่งพังยับ เพราะการออกแบบ?
สวัสดีพี่ๆผู้อ่านทุกท่านค่ะ คิดถึงน้องพิ้งค์กันไหมคะ วันนี้มาเจอน้องพิ้งค์กันนะคะ หลังจากที่ไม่ได้เจอกันมาสักพักเลย เจอหนูก็แปลว่าต้องมีกรณีศึกษามาเล่าแน่นอนค่ะ
ขอทวนนิดนึงนะคะเผื่อพี่ๆผู้อ่านบางท่านเพิ่งเข้ามาอ่านบทความในส่วนของ Knowledge Center ในเว็บไซต์ของเราครั้งแรก บทความ กรณีศึกษา คือ การนำเอาเรื่องเล่าจากบริษัทลูกค้า ที่ทางทีมงานพบเจอมา ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ปัญหาเรื่องการออกแบบหรือเลือกอุปกรณ์ภายใน Cooling tower ปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงคูลลิ่งทาวเวอร์ การดูแลรักษารวมไปถึงการใช้งานอย่างถูกวิธี แล้วแต่เรื่องที่นำมาเล่า ให้พี่ๆผู้อ่านเอาไว้ศึกษาเป็นแนวทาง ซึ่งอาจจะนำไปปรับใช้หรือป้องกันเหตุกับคูลลิ่งทาวเวอร์ของพี่ๆได้
กรณีศึกษาที่หนูนำมาเขียนเล่าในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์ที่เลือกใช้วัสดุไม่เหมาะสมกับการใช้งานค่ะ
เหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อนๆเลยค่ะ มีลูกค้ารายหนึ่งของเราส่งภาพมาให้ดูเป็นภาพ Gearbox และ ใบพัดคูลลิ่งหลุดออกจากฐาน ตกลงมาด้านล่างตรงส่วนที่มีแผง Drift(แผ่นกันน้ำกระเด็น) ติดตั้งอยู่
ภาพที่ 1 : ใบพัดคูลลิ่งและGear box หลุดจากฐาน
หากพี่ๆผู้อ่านดูจากภาพแล้วคิดว่าจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีแค่ Gear boxและใบพัดคูลลิ่งเสียหายจากการที่ Gearbox และใบพัดคูลลิ่งหลุดลงมาใช่ไหมคะ
บอกเลยว่า ความเสียหายไม่ได้มีแค่นี้
เมื่อทีมหน้างานของเราทำการตรวจสอบแล้วอุปกรณ์ที่เสียหายในเหตุการณ์ครั้งนี้มีทั้งหมด 8 รายการ คือ ใบพัดคูลลิ่ง, เกียร์บ็อกซ์, Drift, ท่อกระจายน้ำ, SPRAY NOZZLE(หัวกระจายน้ำ), oil line, Drive shaft และ Stack(ปล่องพัดลม)
อุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น ต้องทำการเปลี่ยนใหม่หมดเลยค่ะ โดยเฉพาะใบพัดคูลลิ่งเสียหายหนักมาก จะมีก็แค่ Gearbox ที่หากไม่เสียหายมากก็น่าจะซ่อมได้อยู่ ซึ่งการซ่อมบำรุง Gearbox ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร แต่หาก Gearbox พังมากแบบไม่สามารถซ่อมแซมได้ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่เลยเช่นกันค่ะ
มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นคร่าวๆ ภายใน Cooling tower ตัวนี้ เมื่อประเมินแล้วอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท
และตัวเลขที่เห็นเป็นการประเมินที่ยังไม่ได้รวม Operation loss หรือรายได้ที่สูญเสียจากการผลิตนะคะ เพราะCooling tower เวลาเกิดความเสียหายขึ้น จะต้องมีบางส่วนหยุดการทำงานเพื่อซ่อมแซม อาจจะไม่ต้องถึงขั้นหยุดกระบวนการผลิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตแน่นอนค่ะ
ส่วนสาเหตุที่ Gearbox และใบพัดคูลลิ่งหลุดออกจากฐานหล่นลงมานั้น
ภาพที่ 2 : ฐานโครงสร้างปูนคอนกรีต ด้านบนคูลลิ่งทาวเวอร์ ที่ใบพัดและGear box หลุด
แล้วเจ้า Chemical Bolt ที่เราพูดถึงอยู่คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ?
ภาพที่ 3 : Chemical Bolt หรือ พุ๊กเคมี
Chemical Bolt หรือพุ๊กเคมี ใน 1 ชุด จะประกอบด้วย หลอดแก้วที่มีน้ำยาเคมีด้านในและสตัดแท่ง น็อตและแหวนรอง หลักการทำงานของมันคือเริ่มจากใส่หลอดแก้วที่มีน้ำยาเคมีลงไปในรูที่เจาะไว้แล้ว จากนั้นตามด้วยสตัดเกลียว แล้วใช้สว่านปั่นสตัดจนหลอดน้ำยาแตก หลังจากนั้นตัวน้ำยาเคมีจะทำปฎิกิริยากับสตัดและพื้นที่ภายในรู ทำให้เกิดการยึดติดที่เป็นเนื้อเดียวกัน
เหมาะกับงานภายนอกและงานที่ไม่มีความชื้น ซึ่งในคูลลิ่งทาวเวอร์ มีทั้งความร้อน ความชื้นสูงและยังมีสารเคมีจากน้ำ ผลกระทบจากความชื้นทำให้อายุการใช้งานของมันสั้นลง จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในคูลลิ่งทาวเวอร์
แล้วทำไมผู้ผลิตCooling tower รายนั้นถึงเลือกใช้งาน Chemical Bolt หรือพุ๊กเคมี? ในเมื่อไม่เหมาะกับงานคูลลิ่งแบบนี้
เพราะด้านดีของ Chemical Bolt คือ มีราคาถูก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยากและหากจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงคูลลิ่งทาวเวอร์ในส่วนของฐานโครงสร้างก็จะทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อนค่ะ
แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านคูลลิ่งทาวเวอร์อย่างอินโนเว็คแนะนำอย่างไร?
เนื่องจาก Gearboxและใบพัดทำงานอยู่ตลอด ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง ตามที่กล่าวข้างต้นนะคะ สิ่งที่เราต้องนึกถึงเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์ คือ ทำอย่างไรให้การยึดกับฐานโครงสร้าง มีความมั่นคง และมั่นคงแบบเป็นเวลานาน ไม่ใช่มั่นคงอยู่ไม่กี่ปีแล้วฐานGearboxพัง ใบพัดคูลลิ่งหลุดลงมา
ผู้เชี่ยวชาญด้านคูลลิ่งของอินโนเว็คเราแนะนำให้ใช้ Anchor bolt ( J bolt / L bolt) ค่ะ
ภาพที่ 4 : Anchor bolt ( J bolt / L bolt)
Anchor bolt ( J bolt / L bolt) มีลักษณะเป็นเหล็กตัน ที่ทำการดัดให้เป็นรูปตัว L หรือตัว J
ขั้นตอนการติดตั้ง Anchor bolt ( J bolt / L bolt) ต้องเชื่อมยึดกับเหล็กของโครงสร้าง ในแบบหล่อตอม่อ หลังจากนั้นทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบหล่อ เพื่อให้คอนกรีตเข้าหุ้มตัว Anchor bolt ( J bolt / L bolt) ไว้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ด้วยวิธีนี้ทำให้การยึดฐานโครงสร้างที่เกิดขึ้นแข็งแรง การที่ตัว Anchor bolt ( J bolt / L bolt) รวมกันเป็นเนื้อเดียวกับฐานโครงสร้าง ไม่แปลกใจเลยค่ะว่าทำไมมันถึงสามารถ ทนต่อแรงสั่นสะเทือนของ Gear box และใบพัดได้เป็นเวลานาน
แต่ในทางกลับกันด้วยการติดตั้งที่แน่นมากแบบนี้ หากAnchor bolt ( J bolt / L bolt) เสียหาย ขั้นตอนในการซ่อมแซมจะค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องทำการสกัดฐานโครงสร้างเดิมออก เพื่อทำการเปลี่ยนตัวใหม่ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น
ภาพที่ 5 : การสกัดฐานโครงสร้าง
แต่ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงคูลลิ่งทาวเวอร์ที่ยึดฐานด้วย Anchor bolt กับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในทั้งหมดเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจากการยึดฐานโครงสร้างที่ไม่มั่นคงตามกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นกับลูกค้ารายหนึ่งที่หนูนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้
พี่ๆทางทีมออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์และวิศวกรทุกท่านในอินโนเว็คพูดเป็นเสียงเดียวกันค่ะว่า มันเทียบกันไม่ได้เลยค่ะ
การออกแบบเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะ ต้องใช้ความรอบคอบและความรู้พอสมควร หากเจอผู้ผลิต Cooling tower ที่ทำงานดี ออกแบบได้อย่างถูกต้อง คูลลิ่งทาวเวอร์ก็จะใช้งานได้อย่างยาวนาน แต่หากเจอผู้ผลิต Cooling tower ที่ไม่ดี อาจจะต้องซ่อมคูลลิ่งไปเรื่อยๆ ไม่จบ มีปัญหาจุกจิกตามมาภายหลังอีก
เพื่อให้คูลลิ่งทาวเวอร์ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมและทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แนะนำควรใช้ผู้ผลิตที่เป็นผู้เชียวชาญด้านคูลลิ่งทาวเวอร์โดยเฉพาะค่ะ
น้องพิ้งค์หวังว่า บทความกรณีศึกษาในวันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Cooling tower ของพี่ๆได้นะคะ
หากพี่ๆมีคำถามเรื่องคูลลิ่งทาวเวอร์ ข้อสงสัย หรือมีโครงการจะเพิ่มประสิทธิภาพคูลลิ่งทาวเวอร์ต้องการคำแนะนำ อีเมลปรึกษาอินโนเว็คได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่ coolingexpert@innovek.co.th ได้เลยนะคะ
เว็บไซต์ของเรายังไม่มีระบบให้กดรับข่าวสาร เพื่อให้ท่านไม่พลาดบทความใหม่ๆ หรือข่าวสารใดๆของทางบริษัทฯ ขอให้ท่าน >> คลิกที่นี่ << เพื่อกด Like และกด Follow เพจของเรา หากไม่สามารถคลิกได้ ท่านสามารถค้นหาคำว่า Innovek Asia ในช่องค้นหาของ Facebook ได้เลยค่ะ หรืออีกหนึ่งช่องทางเพิ่มเพื่อนในไลน์ คลิกปุ่มสีเขียวขวามือของจอได้เลยค่ะ
อินโนเว็ค เอเซีย, เราเป็นผู้ผลิตคูลลิ่งทาวเวอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศไทย มาตรฐานระดับโลก ด้วยชื่อเสียงที่แข็งแกร่งของเราในด้านคูลลิ่งทาวเวอร์ ที่ให้บริการแบบครบวงจร มีทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการ มากกว่า 15 ปี คอยให้บริการตั้งแต่ ออกแบบ ติดตั้ง รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพและซ่อมบำรุงคูลลิ่งทาวเวอร์ ทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์ในคูลลิ่งทาวเวอร์หากมีปัญหาหรือเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเป็นใบพัดคูลลิ่ง, Gear box, Fill Pack หรือส่วนไหนก็ตามที่เกี่ยวกับคูลลิ่งทาวเวอร์ อย่าลืมนึกถึงเรานะคะ เพราะเรื่องคูลลิ่งนี่ ครบ จบ ที่อินโนเว็ค