ทริคเล็กๆเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลGearbox
ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ Gearbox ในการทำงาน ระบบนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แต่การดูแลและบำรุงรักษาเกียร์ อาจเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามหรือไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
บทความวันนี้ผมจะนำเสนอทริคเล็กๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ Gearbox ซึ่งครอบคลุมทั้งการดูแลหลังจากไม่ได้ใช้งานนานๆ,Mechanical oil pump ใน Gear reducer industrial,บทบาทของ Back Stop ในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์,การติดตั้ง Vibration Sensor ใน Gearbox เพื่อช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า Gearbox ของคุณจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรได้มากยิ่งขึ้น
การดูแลเกียร์บ็อกซ์ เมื่อไม่ได้ใช้งานนานๆ
เมื่อเกียร์บ็อกซ์ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน การดูแลรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันความเสียหายและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้เกียร์บ็อกซ์พร้อมใช้งานเมื่อจำเป็น โดยในหัวข้อนี้ จะพูดถึง 2 สาเหตุที่ต้องพิจารณานะครับ
- กรณีที่ Gearbox จัดเก็บที่คลังสินค้าหรือWare house ที่ยังไม่ได้ทำการติดตั้งหรือใช้งาน ควรทำการDrain(ระบาย)น้ำมันเก่าออกเพราะน้ำมันที่ติดมากับเกียร์เป็นน้ำมันที่เติมมาเพื่อหล่อลื่นแบริ่งและเฟืองเกียร์ไว้ขณะทำการขนส่งจึงไม่เหมาะกับการนำไปใช้งาน หลังจากนั้นให้เติมน้ำมันใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้งานเข้าไป โดยควรเติมให้เกือบเต็มและเหลือระยะเผื่อ*น้ำมันขยายตัวไว้ประมาณ 1 นิ้ว
แต่ในกรณีที่บางท่านใช้ Gear Amarillo Gen II จะไม่สามารถเติมน้ำมันเต็มได้เพราะน้ำมันจะรั่วออกทาง Oil seal จะต้องแจ้งทางผู้ผลิตว่าให้เติม **สาร Vapor phase rust inhibitor ในน้ำมัน เพื่อให้ไอระเหยจากสารนี้ช่วยปกป้องชิ้นส่วนในเกียร์บ็อกซ์ที่ไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยน้ำมันโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสนิมและการกัดกร่อนได้
*น้ำมันขยายตัว (Oil Expansion) หมายถึงปรากฏการณ์ที่น้ำมันเปลี่ยนปริมาตรเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง โดยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น น้ำมันจะขยายตัวและปริมาตรจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของน้ำมัน
**สาร Vapor phase rust inhibitor คือสารเคมีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนในชิ้นส่วนโลหะ โดยทำงานผ่านกระบวนการระเหยของสารเคมีในสภาพแวดล้อมปิด
ภาพที่ 1 : Gearbox
- กรณีที่คูลลิ่ง Gearbox อยู่ใน Cooling tower มีการหยุดการทำงานของคูลลิ่งทาวเวอร์เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไปจะต้องทำการ Drain น้ำมันเก่าออกให้หมดและทำการถอด Oil lineและปิดด้วย Plug ซึ่งการปิดด้วย Plug หมายถึงการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "Plug" ตามภาพด้านล่าง เพื่อปิดทางออกของน้ำมันหลังจากที่ทำการถอดสาย(oil line)ออก เพื่อป้องกันน้ำมันหรือสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าหรือออกจากเกียร์บ็อกซ์ระหว่างที่ไม่ได้ใช้ ส่วนเรื่องของการเติมน้ำมันจะใช้หลักการเดียวกับ Gearbox ที่จัดเก็บอยู่ที่คลังสินค้านะครับ
ภาพที่ 2 : Plug ปิด oil line
ข้อสำคัญ : ก่อนที่จะ Start Gearbox เพื่อเริ่มการใช้งาน ให้ Drain น้ำมันเก่าที่เติมไว้ออกจนหมดจากนั้นเติมน้ำมันใหม่เข้าไปและทำการตรวจสอบ oil line เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งอุดตัน หลังจากตรวจสอบแล้วให้ติดตั้ง oil line กลับเข้าที่เดิม สำหรับกรณีของ Gearbox รุ่น Gen II ที่มีสาร Vapor phase rust inhibitor จะต้องทำการ Drain น้ำมันออกให้หมด แล้วทำการเติมน้ำมันใหม่ที่ไม่มีสาร Vapor phase rust inhibitor ให้ถึงระดับการใช้งาน หลังจากนั้นใช้มือหมุน Gear เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการติดขัดก่อนเริ่มการใช้งาน
การติดตั้งอุปกรณ์ Vibration ที่ Gearbox
อุปกรณ์ Vibration หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับ, วัด, และวิเคราะห์การสั่นสะเทือนของวัตถุหรือเครื่องจักร มีหลายประเภทของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสั่นสะเทือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความต้องการในการวัดการสั่นสะเทือน ในหัวข้อนี้จะพูดถึง 2 อุปกรณ์นะครับ คือ Vibration switch และ Vibration sensor
- Vibration switch มีหลายท่านติดตั้งที่ฐานน๊อตของเพลทเกียร์ (Bolt base plate gear) แต่จุดนี้ผมไม่ขอแนะนำ เนื่องจากจุดติดตั้งใกล้กับ Mechanical support จะค่อนข้างแข็งแรงเกินไป หากเกิดแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้การวัดคลาดเคลื่อนได้ จึงทำให้ไม่เหมาะสม จุดที่แนะนำให้ติดตั้งคือใกล้กับแบริ่ง(Bearing)ที่อยู่ด้าน *Drive End (ด้านขับเคลื่อน) และ **Non Drive End (ด้านไม่ขับเคลื่อน) เป็นการเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับการสั่นสะเทือนและช่วยในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักร เนื่องจากแบริ่งเป็นจุดหมุนและเสื่อมสภาพเร็วที่สุด
*Drive End (ด้านขับเคลื่อน) เป็นด้านที่มีการต่อกับมอเตอร์หรือแหล่งกำลังที่ใช้ในการขับเคลื่อนเกียร์บ็อกซ์ มีการส่งกำลังหรือแรงบิดจากมอเตอร์ไปยังเกียร์บ็อกซ์
**Non Drive End (ด้านไม่ขับเคลื่อน) เป็นด้านที่ไม่มีการต่อกับมอเตอร์หรือแหล่งกำลัง มักจะเป็นด้านที่ใช้สนับสนุนเกียร์และช่วยในการระบายความร้อนของเกียร์บ็อกซ์
ภาพที่ 3 : Vibration switch
- Vibration sensor สามารถติดตั้งได้หลายจุด เช่น
- การเจาะเข้าไปที่ตัวของ casing หรือส่วนหุ้มของอุปกรณ์ เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตั้ง sensor ในตำแหน่งที่ต้องการตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนโดยตรง
- การติดตั้ง sensor บนแผ่น Plate แล้วใช้ Epoxy ในการยึดติดบนเสื้อ Gear ให้แน่นหนาเป็นวิธีที่ใช้เมื่อต้องการติดตั้ง sensor ในตำแหน่งที่ไม่สะดวกในการเจาะ
ภาพที่ 4 : Vibration sensor
Mechanical oil pump ใน Gear reducer industrial
Mechanical oil pump คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งและกระจายน้ำมันหล่อลื่นภายในเครื่องจักรหรือระบบกลไกต่าง ๆ โดยใช้แรงกลจากการเคลื่อนที่ของส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องจักรให้เกิดการทำงาน
การใช้ Mechanical oil pump ใน Gearbox ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน แต่โดยปกติหากมีการติดตั้ง Gearbox หลายท่านจะขอให้เพิ่ม Mechanical oil pump เข้ามาด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่เกียร์บ็อกซ์ที่ใช้จะเป็นแบบ multi purpose gear คือเป็นเกียร์ที่สามารถใช้ได้หลากหลายงานรวมถึงการนำมาใช้ในงานคูลลิ่งทาวเวอร์ด้วย
ซึ่งปกติการติดตั้ง Mechanical oil pump จะติดตั้งเมื่อมอเตอร์มีรอบความเร็วต่ำกว่า 450 รอบ/นาทีเพราะหากรอบความเร็วต่ำกว่า 450 รอบจะทำให้ระบบการกระจายน้ำมันหล่อลื่นทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงต้องติดตั้ง Mechanical oil pump เพื่อเข้ามาช่วยในการทำงาน
แต่ในส่วนของ Amarillo gear drive ออกแบบมาเพื่อใช้กับ cooling tower เท่านั้น และได้ติดตั้งระบบ Oil slinger ในกระจายน้ำมันหล่อลื่นทดแทน Mechanical oil pump ระบบ oil pump ของ Amarillo เป็นการทำงานแบบหมุนได้สองทิศทาง โดยออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถหมุนกลับทิศได้กรณีที่ไม่ได้ติดตั้ง Back stop
Mechanical oil pump เป็นสิ่งจำเป็นใน Gearbox ที่ต้องการการหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องในขณะเดินเครื่อง แต่ในบางกรณีที่ Gearbox มีระบบหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ Mechanical oil pump อาจไม่จำเป็น
ภาพที่ 5 : ตำแหน่งที่ติดตั้ง Mechanical oil pump
Backstop ใน cooling tower
Backstop หรือจะเป็นในอีกหลายๆชื่อ ที่หลายท่านใช้เรียกกันไม่ว่าจะเป็น Non revers ,anti windmilling device ,Anti reverse ฯลฯ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบเกียร์ของ Cooling Tower เพื่อป้องกันไม่ให้เพลาหมุนกลับทิศทางหรือหมุนย้อนกลับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดลมหมุนกลับหรือเมื่อมีการหยุดการทำงานของเครื่องจักรอย่างกะทันหัน ซึ่งหน้าตาของ Back stop มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป โดยในหัวข้อนี้ผมจะพูดถึงจุดติดตั้ง Backstop โดยแบ่งออกเป็นสองจุด คือ
- ติดตั้งภายใน Gear box ด้านใน Input shaft
ภาพที่ 6 : Back stop ที่ติดตั้งภายใน Gear box
- ติดตั้งนอกเกียร์บ็อกซ์
ภาพที่ 7 : Back stop ที่ติดตั้งนอกเกียร์บ็อกซ์
ซึ่งโดยปกติใบพัดหรือ Gearbox จะถูกออกแบบให้หมุนได้สองทิศทางคือ ทวนเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อ Cooling Tower หยุดทำงานเพื่อซ่อมบำรุงหรือหยุดใช้งาน จะมีลมจาก Cooling Tower อื่นที่ยังทำงานอยู่พัดมา ทำให้ใบพัดของคูลลิ่งทาวเวอร์ที่หยุดทำงานนั้นหมุนกลับทิศทางเดิมโดยไม่มีการควบคุม เมื่อเริ่มต้นสตาร์ทมอเตอร์ใหม่ จะเกิดแรงกระแทก(Shock load) อธิบายการเกิด Shock load ให้เข้าใจง่ายๆ คือ เมื่อเริ่มสตาร์ทมอเตอร์ใหม่ มอเตอร์จะพยายามหมุนใบพัดไปในทิศทางที่ถูกออกแบบไว้ แต่ใบพัดกลับหมุนอยู่ในทิศทางตรงข้าม เมื่อมอเตอร์พยายามหมุนใบพัดในทิศทางเดิมแต่ต้องต่อต้านแรงหมุนที่ย้อนกลับ จะทำให้เกิดแรงกระชากหรือ Shock load ขึ้น แรงกระชากนี้สามารถทำให้ Gearbox, ใบพัดหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ของ Cooling Tower เสียหายได้ หากไม่ได้ทำการติด Backstop
การติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Back stop จะช่วยป้องกันไม่ให้ใบพัดหมุนกลับทิศทางเมื่อมีลมพัดเข้ามา ทำให้เมื่อเริ่มสตาร์ทมอเตอร์ใหม่จะไม่เกิดแรงกระชากและช่วยลดความเสียหายจากการขาดของdrive shaft ที่อาจเกิดขึ้นได้
การดูแลรักษาและการใช้ Gearbox อย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานและประสิทธิภาพของระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ทุกขั้นตอนที่เราได้แนะนำในบทความนี้เป็นเพียงทริคเล็กๆ ที่สามารถทำให้การทำงานของ Gearbox ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้น การใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง แต่ยังช่วยให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่าลืมว่าการป้องกันดีกว่าการแก้ไข เพียงแค่ใส่ใจและทำตามขั้นตอนง่ายๆ ก็สามารถเพิ่มความมั่นใจในการทำงานของ Gearbox ได้เป็นอย่างดี
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับคูลลิ่งทาวเวอร์หรือมีไอเดียสำหรับบทความถัดไปของเรา สามารถเสนอแนะและพูดคุยกันได้ที่อีเมล coolingexpert@innovek.co.th เราให้คำปรึกษาและตอบคำถาม ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
หากท่านชื่นชอบบทความของเราและต้องการติดตามเพื่อไม่พลาดบทความใหม่ ๆ ติดตามเราได้ที่
Facebook : Innovek Asia
ID LINE : @innovek
หรือสามารถคลิก "ติดตามรับข่าวสาร" ที่มุมซ้ายด้านล่างของเว็บไซต์เราได้เลย